วันที่ 26 มีนาคม 2567 เวลา 10.40 น. ที่ห้องประชุมยะลารวมใจ ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 พร้อมด้วย พลตำรวจโท ปิยะวัฒน์ เฉลิมศรี ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9/รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า , พันตำรวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมแถลงข่าว “สรุปผลการปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายด้านความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยการแถลงข่าวในครั้งนี้มีการรายงานความคืบหน้าคดีสำคัญผ่าน Presentation จากกองกำลังตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ , ชี้แจงเรื่องการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ โดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และชี้แจงนโยบายเกี่ยวกับการติดตามบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า
พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 กล่าวถึงนโยบายเกี่ยวกับการติดตามบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ว่า “การปฏิบัติที่ผ่านมาในทุกกรณีที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ได้มีการบังคับใช้กฎหมาย ได้มีการเน้นย้ำหน่วยทุก ๆ ครั้ง ในการปฏิบัติ ในเรื่องของการปฏิบัติตามหลักของกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชน โดยให้เป็นไปตามกระบวนการขั้นตอนอย่างเคร่งครัด ไม่ละเลยต่อการปฏิบัติ ไม่นิ่งนอนใจ ใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก โดยได้เน้นย้ำเสมอในเรื่องของการเจรจาเป็นหลัก ในการติดตามบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ โดยมีการสนธิกำลังร่วม 3 ฝ่าย รวมไปถึงการเชิญผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา เข้ามา มีส่วนร่วมในการเจรจา เกลี้ยกล่อม ต่อผู้ก่อเหตุรุนแรง จากการบังคับใช้กฎหมายในทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสีย แต่ต้องการที่จะเห็นความร่วมมือกันเพื่อที่จะให้ผู้ก่อเหตุรุนแรง ได้เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย เพราะฉะนั้น จึงให้ความสำคัญ และได้เน้นย้ำหน่วยปฏิบัติทุกหน่วยเสมอ ว่าไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสีย ในส่วนของมาตรการในการควบคุมพื้นที่ให้ปลอดภัย ได้จัดกำลังจรยุทธ์กระจายในทุกพื้นที่ โดยเน้นพื้นที่เสี่ยง และชุมชนล่อแหลมเป็นสำคัญ ป้องกันการก่อเหตุหรือตอบโต้จากผู้ก่อเหตุรุนแรง ซึ่งในขั้นตอนการปฏิบัติ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่พูดคุยและสร้างความเข้าใจ แก่ครอบครัว และญาติของผู้ต้องสงสัยให้ทราบ ถึงขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งให้ปฏิบัติด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนให้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ได้มีการประชาสัมพันธ์เน้นย้ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคดีต่าง ๆ ได้เคยปรากฏให้เห็นถึงบทลงโทษมาแล้วหลายๆครั้ง ขั้นตอนของการเผยแพร่อาจจะต้องใช้เวลา เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนของกฏหมายที่ถูกต้องจริงๆ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน หากพบบุคคลต้องสงสัยเข้ามาเคลื่อนไหวในพื้นที่ สามารถแจ้งได้ที่หมายเลขโทรศัพท์สายตรง แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 โทร 061-1732999 หรือเบอร์สายด่วน กอ.รมน.ภาค 4 สน. 1341 และหน่วยเฉพาะกิจในพื้นที่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งขอเรียนให้ทราบว่าผู้ให้การสนับสนุนผู้กระทำผิดด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การนำพาซ่อนเร้น การให้การสนับสนุนที่พักพิง หรือการสนับสนุนเสบียงอาหาร จะมีความผิดตามกฎหมาย ป.อาญา มาตรา 189 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ“
ด้าน พันตำรวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า “การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ผู้ที่เป็นพลเมืองไทยทุกคน ให้สามารถดํารงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขเหมาะสมตาม สภาพ ไม่ทอดทิ้งผู้สูญเสียและผู้ได้รับผลกระทบฯ ทุกกรณี และมุ่งให้เกิดความรักความสามัคคีลดความโกรธแค้น ชิงชัง ไม่ทอดทิ้งผู้เสียหายและผู้ได้รับผลกระทบออกไปจากสังคม รวมทั้งช่วยเหลือและคุ้มครองสิทธิผู้ไม่ได้รับความ เป็นธรรมทางกฎหมาย ภายใต้เจตนารมย์และหลักคิดของการเยียวยา คือ การคืนความสันติสุขกลับคืนสู่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ซึ่งภายใต้การบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และด้วยเหตุผลด้านความ มั่นคง ส่งผลให้มีการควบคุมตัว จับกุม คุมขังและปล่อยตัวหากพบว่าไม่มีความผิด จึงต้องมีการชดเชยค่าเสียหายที่ เกิดจากกรณีดังกล่าวเพื่อเป็นการเยียวยา การชดเชยและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทุกกลุ่มเป้าหมาย ถือเป็นหัวใจสําคัญที่จะลดความคับข้องใจซึ่งเป็น รากเหง้าของความขัดแย้งลงได้ สําหรับผู้กระทําความผิดและตกเป็นผู้ต้องขังในคดีความมั่นคง ต้องเร่งสร้าง ความเข้าใจ เปลี่ยนโลกทัศน์ใหม่ในการอยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาค เป็นธรรม ชี้แนะการแสวงหาทางออกจาก ความขัดแย้งด้วยแนวทางสันติวิธี ด้วยกระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่าน เพื่อให้การใช้โอกาสที่ผู้ต้องขังคดีความ มั่นคงในพื้นที่อยู่ในเรือนจําของรัฐ ได้มีโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ เปิดมุมมองที่กว้างขวางขึ้น ด้วยการบูรณา การกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ“
สำหรับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ที่ผ่านมา ตลอดจนการก่อเหตุความรุนแรงเหตุการณ์อื่นๆ นั้น พลตำรวจโท ปิยะวัฒน์ เฉลิมศรี ผู้บัญชาการำรวจภูธรภาค 9/รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่ากองกำลังตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เคยนิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และยังคงติดตามในทุกๆ คดี เพื่อนำผู้กระทำผิดมาเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายต่อไป ตามรายงานที่ปรากฎ
ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค4ส่วนหน้า