ผอ.ศปพร. พบปะ ให้กำลังใจ สืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการศิลปาชีพ ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ วัดพระพุทธ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส

326

         เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 1345 น. ที่ วัดพระพุทธ ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 / ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมด้วย พันเอก ณรงค์ ตันติสิทธิพร รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 / รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะ เดินทางลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมและพบปะให้กำลังใจ โครงการศิลปาชีพ ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มศิลปาชีพวัดพระพุทธ , กลุ่มศิลปาชีพปักผ้าบ้านยูโย , กลุ่มศิลปาชีพปักผ้าบ้านปลักปลา และกลุ่มศิลปาชีพปักผ้าบ้านทุ่งฝ้าย โดยได้รับฟังบรรยายสรุปประวัติความเป็นมา สอบถามปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินงาน และเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มศิลปาชีพ ในการนี้ได้มอบถุงผ้ากิจกรรมสานสัมพันธ์ศิลปาชีพ ให้กับสมาชิกฯ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการดำเนินงานต่อไป

        ทั้งนี้ พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว กราบนมัสการ เจ้าอาวาสวัดพระพุทธ  ถวายเครื่องสังฆทาน และปัจจัยแด่พระสงฆ์ ตามโครงการเสริมสร้างชุมชนที่เข้มแข็งกิจกรรมการสนับสนุนภัตตาหาร แด่พระสงฆ์ในพื้นที่ล่อแหลม เสี่ยงภัย ไม่สามารถบิณฑบาตได้ รวมถึงสอบถามความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ และการปฏิบัติศาสนกิจในพื้นที่  พร้อมทั้งเยี่ยมชมศาลาทรงงาน และเยี่ยมชมต้นไม้ทรงปลูก ตามโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณต้นไม้ทรงปลูก ภายในวัดพระพุทธ ซึ่งศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ตระหนักเห็นถึงความสำคัญของต้นไม้ทรงปลูก จึงจัดโครง การปรับปรุงภูมิทัศน์รอบต้นไม้ทรงปลูกขึ้น เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ได้ทรงเสด็จปฎิบัติพระราชกรณียกิจ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้ทรงปลูกต้นไม้ในสถานที่ต่างๆ ที่ได้ทรงเสด็จปฎิบัติพระราชกรณียกิจ จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลรักษาต้นไม้ทรงปลูกไม่ให้เสื่อมโทรม พร้อมทั้งจัดชุดทหารช่างดำเนินการจัดทำรั้วรอบต้นไม้ทรงปลูก เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์รอบต้นไม้ทรงปลูกให้เป็นระเบียบ สง่างาม ตลอดจนประสานงานขอความร่วมมือกับหน่วยงานราชการในพื้นที่ ในการกำกับดูแล ต้นไม้ทรงปลูกให้เจริญเติบโตงอก งาม “สืบสาน รักษา ต่อยอด” ต้น ไม้ทรงปลูกให้อยู่คู่กับประชาชนในพื้นที่ต่อไป

          โดยโครงการศิลปาชีพมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอนศิลปาชีพแขนงต่างๆ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการจัดหาวัตถุดิบ รับซื้อ เก็บรักษา และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมประกอบ อาชีพเสริม เพิ่มรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พออยู่พอกิน พึ่งตนเองได้ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งมีเป้าหมายการดำเนินงาน 1. กลุ่มศิลปาชีพฯ ในความรับผิดชอบ ได้กลับมาดำเนินงานได้ดีและต่อเนื่อง สนองพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “สืบสาน รักษา และต่อยอด” 2. กลุ่มศิลปาชีพเป็นศูนย์รวมจิตใจ และศูนย์รวมความจงรักภักดีของคนในพื้นที่ 3. อาคารศิลปาชีพที่ชำรุดทรุดโทรม ต้องได้รับการปรับปรุง ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ดี และมีสง่าราศี 4. ส่งเสริมให้เยาวชนรุ่นใหม่หันมาสืบ สาน รักษา และอนุรักษ์งานศิลปาชีพ เพื่อทดแทนสมาชิกรุ่นเก่าซึ่งมีอายุมาก 5. จัดกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพในพื้นที่ให้มากขึ้น โครงการศิลปาชีพในความรับผิดชอบมีจำนวน 16 แห่ง ปัจจุบัน มีสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 868 คน นับถือศาสนาพุทธ 232 คน ศาสนาอิสลาม 636 คน ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสสำหรับที่มาของโครงการศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จัดตั้งขึ้นโดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานพระราชดำริจัดตั้ง “มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี นาถ” ขึ้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ราษฎร ตลอดจนเพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยไว้เป็นมรดกของปวงชนชาวไทยสืบไป

ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค4ส่วนหน้า