วันนี้ (21 สิงหาคม 2566) เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุม 1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี พลโท ศานติ ศกุนตนาค ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 / ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชุมคณะกรรมการศูนย์ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 3 ปี 2566 เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด ติดตาม และรับทราบผลการปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการบูรณาการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการป้องกัน ด้านการปราบปราม และด้านการบำบัดรักษาตลอดจนส่งเสริมคุณภาพชีวิตคืนคนดีสู่สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 9, กองกำลังตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้, โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และหน่วยงานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
ที่ประชุมได้มีการบรรยายสรุปผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา โดย สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 9 ได้รายงานแนวโน้มสถานการณ์ของปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้, กองกำลังตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายในการป้องกันและปรามรามยาเสพติด, สำหรับโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี รายงานผลการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด ที่เข้ารับการรักษายังโรงพยาบาล ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมก้าวร้าวอาการไม่รุนเเรง ไม่มีอาการทางจิตเวช เมื่อบำบัดครบแล้วจะส่งต่อเข้าสู่ระบบฟื้นฟูสภาพทางสัมคงต่อไป และศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมระดับจังหวัด รายงานผลการใรการช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพทางสังคมแก่ผู้ป่วยยาเสพติด ทั้งการติดตาม ช่วยเหลือ เช่น การฝึกอาชีพ การหาอาชีพ และแนะนำช่วยเหลือด้านการศึกษาต่อแก้ผู้ป่วยยาเสพติด เพื่อใก้สามารถกลับไปใช้ชีวิตยังชุมชนของตนเองได้อย่างปกติสุข โดยทุกส่วนที่เกี่ยวข้องได้รายงานผลการดำเนินการที่ผ่านมา และรายการปัญหาข้องขัดข้อง อุปสรรคต่าง ๆ เพื่อหารือในการแก้ไขปัญหาต่อไปในที่ประชุมฯ
พลโท ศานติ ศกุนตนาค ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 / ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาระดับชาติ ซึ่งที่ผ่านมาในพื้นที่ได้มีการจับกุมผู้ค้า ผู้เสพมาโดยตลอด เป็นภัยแทรกซ้อนที่มีความเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติด จำเป็นต้องบูรณาการทำงานจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดควบคู่กันในทุกมิติและเป็นระบบ ทั้งงานสกัดกั้น การป้องกันและปราบราม การบำบัดฟื้นฟู รวมถึงการติดตามช่วยเหลือผู้ที่ผ่านการบำบัดรักษา และพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถกลับไปใช้ชีวิตยังชุมชนได้อย่างปกติ การประชุมครั้งนี้ทุกฝ่ายจะได้นำ ปัญหาข้อขัดข้อง อุปสรรค มาร่วมหารือ เสนอแนะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหารแนวทางการทำงานร่วมกัน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีคืบหน้าและเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเพื่อพี่น้องประชาชนต่อไป เพราะทุกข์ในใจประชาชน คือลูกหลานติดนาเสพติด ซึ่งถือเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายต้องร่วมบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องร่วมกัน
ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค4ส่วนหน้า