วันนี้ (28 กุภาพันธ์ 2566) เวลา 10.00 น. ที่ ห้องรับรองค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการรักษาคาวมมั่นคงภายในภาค 4 และคณะฯ ให้การต้อนรับ ศาสตราจารย์ พลเอก ตันศรี ซุลกิฟลี ไซนัล อะบิดิน ผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมคณะฯ ในโอกาสเดินทางเยือนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในฐานะแขกของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ/คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2566 ทั้งนี้ ได้พบปะกับแม่ทัพภาคที่ 4 พร้อมพูดคุยแนวทางการแก้ไขปัญหาสร้างความร่วมมือในเรื่องการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี พลตรี ปราโมทย์ พรหมอินทร์ รองแม่ทัพภาคที่ 4/รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า, พลตรี คมกฤช รัตนฉายา รองแม่ทัพน้อยที่ 4 ,พลตรี กรกฎ ภู่โชติ รองผู้อำนวยการรักษาคงามมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ,พลตรี วรเดช เดชรักษา ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 ,พลตรี ขจรศักดิ์ อินทร์ทอง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก 46 ให้การต้อนรับ
สำหรับการหารือในครั้งนี้ สืบเนื่องจากการประชุมคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีพลเอก วัลลภ รักเสนาะ เป็นหัวหน้าคณะ ได้พบหารือและพูดคุยแบบเต็มคณะกับผู้แทน BRN ที่นำโดย อุซตาส อานัส อับดุลเราะห์มาน เมื่อวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และมี พลเอก ตันศรี ดาโตะซรี ซุลกีฟลี ไซนัล อะบิดิน เป็นผู้อำนวยความสะดวก ซึ่งผลการพูดคุยฯ มีความคืบหน้าที่สำคัญในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน และกรอบเวลาที่ชัดเจนในการแก้ไขความขัดแย้ง และนำสันติสุขสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ และคณะผู้แทน BRN เห็นพ้องที่จะร่วมกันจัดทำ “แผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม” หรือ Joint Comprehensive Plan towards Peace (JCPP) เพื่อเป็นแนวทางขับเคลื่อนการพูดคุยให้คืบหน้า และมีกรอบเวลาที่ชัดเจนในการปฏิบัติ โดย JCPP จะมีเนื้อหาสำคัญ 2 ส่วน คือ การลดความรุนแรงในพื้นที่และการจัดการปรึกษาหารือกับประชาชนเพื่อนำไปสู่การแสวงหาทางออกทางการเมือง ยุติความขัดแย้งและนำข้อสรุปที่ได้จากกระบวนการดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาและนำสันติสุขที่ถาวรสู่พื้นที่อย่างยั่งยืนต่อไป
ตลอดจนขอให้คู่พูดคุยได้มอบหมายให้คณะทำงานทางเทคนิคของแต่ละฝ่ายนัดหมายจัดการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันอย่างไม่เป็นทางการในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2566 เพื่อร่วมกันจัดทำรายละเอียดของ JCPP ให้เสร็จสิ้นและนำเสนอต่อการพูดคุยแบบเต็มคณะในเดือนมิถุนายน 2566 นี้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่า ความมุ่งมั่นและความตั้งใจจริงในการปฏิบัติงานของตันศรี ซุลกีฟลีฯ ในฐานะผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้คู่พูดคุยบรรลุความเห็นพ้องเบื้องต้นเกี่ยวกับ JCPP และจะมีส่วนช่วยให้การจัดทำตามแผนRoad Map ได้อย่างราบรื่น
พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ระบุ ภายหลังจากการให้การต้อนรับ ศาสตราจารย์ พลเอกตันศรี ซุลกิฟลี ไซนัล อะบิดิน ผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เดินทางเยือนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ดีใจ ที่ได้เจอกันต่อหน้าครั้งแรกสำหรับผู้อำนวยคสามสะดวก จากการพบกันเป็นจุดเริ่มทางออกที่ดีที่สุดตามนโยยายที่อยากให้มีการพูดคุยกัน 2 ฝ่ายให้มากๆ แม้อาจมีอุปสรคคอยู่บ้าง และท้าทายมาตลอดระยะเวลา แต่ด้าน พลเอกตันศรีฯ มีความตั้งใจเป็นอย่างมากที่จะอำนวยความสะดวกให้กับเรา เช่นกันถ้า พลเอกตันศรีฯ มีอะไรที่ฝ่ายเราช่วยเหลือได้ก็พร้อมช่วยเหลือเช่นกัน
แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า ตั้งแต่มีนาคมเป็นต้นไป ทีมเทคนิคเริ่มขับเคลื่อนประสานข้อตกลงกันทั้ง 2 ฝ่าย หวังให้ไม่มีการก่อเหตุในพื้นที่ หยุดการก่อเหตุแล้วกลับมาพูดคุยกันให้มากที่สุด ส่วนความคิดที่ว่าพี่น้องจังหวัดชายแดนภาคใต้จะเจอกับแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์นั้น มาจากแววตาของ พลเอกตันศรีฯ ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ ตลอดจนคณะของท่านที่มีความมั่นใจในการพูดคุยว่าจะประสบความสำเร็จ และมีความจริงใจในการทำงาน เพื่อประชาชนได้อยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุขอีกครั้ง ซึ่งนั่นคือความหวังของเราทั้งหมด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกส่วนต้องช่วยกันเพื่อนำสันติสุขกลับคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ พล.อ.ตันศรี ซุลกิฟลี ไซนัล อะบิดิน ยังมีกำหนดลงพื้นที่ จชต.ระหว่าง วันที่ 28 ก.พ.- 3 มี.ค. 2566 เพื่อศึกษาข้อมูล และร่วมพบปะกับเครือข่ายกลุ่มต่างๆในพื้นที่ เพื่อประโยชน์ในการพูดคุยสันติสุขในครั้งต่อไป
ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค4ส่วนหน้า