องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) เยือนพื้นที่จังหวัดปัตตานี ชื่นชม ม.ฟาฏอนี เป็นแหล่งเรียนรู้วิชาการอิสลามที่โดดเด่นในเอเชีย

332

วั          นนี้ 29 มิถุนายน 2565 เวลา 13.30 น. ณ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี Mr.Yousef Mohammed S.Aldobeay ผู้ช่วยเลขาธิการองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) , Mr. El Habib Bourane  ผู้อำนวยการกองชุมชนและชนกลุ่มน้อยของมุสลิม , Ms. Ibrahim Patou เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเมืองระดับชำนาญการ ตลอดจนผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ และคณะ เดินทางเยือนเพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักศึกษาจากนานาชาติ ที่เดินทางมาศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้แทนชมรมศิษย์เก่าจากประเทศซาอุดีอาระเบีย พร้อมรับฟังบทบาทของมหาวิทยาลัยฯกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนและการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งเพื่อให้ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมี นายลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี เป็นประธานในการต้อนรับพร้อมบรรยายสรุป พร้อมด้วย พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ , รองอธิการบดี คณาจารย์และนักศึกษาร่วมให้การต้อนรับ

          Mr.Yousef Mohammed S.Aldobeay ผู้ช่วยเลขาธิการองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) กล่าวว่า OIC ยินดีเป็นอย่างยิ่งในการให้ความร่วมมือกับรัฐบาลของประเทศไทย ผ่านเอกอัครราชฑูตไทยที่ประจำการอยู่ ณ กรุงริยาร์ด และเจดดาร์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย พร้อมแสดงความยินดีกับการเติบโตของมหาวิทยาลัย ซึ่งมองว่า เป็นแหล่งเรียนรู้อิสลามที่โดดเด่นในเอเชียและประเทศไทย เป็นแหล่งเรียนรู้วิชาการแก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนมุสลิมในชายแดนใต้ หากการศึกษาจะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ เชื่อว่า มหาวิทยาลัยฟาฏอนีจะเป็นสถานที่สำคัญในการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดี OIC มีกองการดูแลชุมชนมุสลิมทั้งในประเทศสมาชิก และประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก เพื่อสอดส่องความเป็นอยู่ สิทธิเสรีภาพของพี่น้องมุสลิมทั่วโลก สำหรับประเทศไทยแล้ว พบว่า ประชาชนได้รับสิทธิเสรีภาพของการประกอบศาสนกิจ การศึกษา การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ โดยพบว่า รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนความเป็นอยู่ของพี่น้องมุสลิมในพื้นที่เป็นอย่างดี ในหลวงรัชกาลที่ 10 และทุกพระองค์ ได้มีการสนับสนุน ทำนุบำรุงศาสนาทุกศาสนา รวมถึงศาสนาอิสลามภายในประเทศ ต่างจากประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ อาทิ อินเดีย ศรีลังกา และอื่นๆ ที่มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพบางประการอยู่

          สำหรับมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1993 ในปีนี้เป็นปีที่ 23 ของมหาวิทยาลัย ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเปิดทำการเรียนการสอน 4 คณะ 1 สถาบันภาษา และมีโครงการเปิดห้างอาเซียนมอล ณ จังหวัดปัตตานี เพื่อสร้างรายได้ให้แก่มหาวิทยาลัย ในการสานเจตนารมณ์ให้บริการทางการศึกษาฟรีในอนาคต ปัจจุบันมีนักเรียนจาก 75 ประเทศ และนักเรียนจากประเทศไทย 50 จังหวัดเดินมาศึกต่อ ณ มหาลัยวิทยาลัยแห่งนี้

          ในเวลา 18.00 น. ผู้ช่วยเลขาธิการองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) เดินทางต่อไปยังมัสยิดรายอฟาฏอนี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นมัสยิดเก่าแก่และเป็นศาสนสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพี่น้องชาวปัตตานี ก่อนพบปะนักเรียนพร้อมเยี่ยมมการจัดการเรียนการสอนที่ศูนย์การศึกษาอิสลาม (ตาดีกา) ประจำมัสยิดรายอปัตตานี จากนั้น เวลา 19.30 น. เดินทางไปยังมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี เพื่อพบปะผู้นำศาสนา กระชับสัมพันธ์ที่มีต่อกันมาอย่างยาวนาน

ศูนย์ประชาสัมพันธ์  กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค4ส่วนหน้า