กอ.รมน.ภาค 4 สน. แถลงร่วม 3 ฝ่าย การปฏิบัติงานที่สำคัญ ประจำเดือน พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องดาหลา กกล.ตร.จชต.

971

 

          วันนี้ (7 ธันวาคม 2564) เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมดาหลา กองกำลังตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา พันเอกเกียรติศักดิ์ ณีวงษ์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า และพันตำรวจโท ภนภัค ภานุเดชากฤษ หัวหน้างานกิจการพลเรือน กองกำลังตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้/ผู้ช่วยโฆษกกองกำลังตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้  พร้อมด้วยนายอำนวย ศรีระแก้ว ร่วมแถลงข่าวชี้แจงผลการปฏิบัติงานในห้วงเดือนที่ผ่านมา

          พันเอกเกียรติศักดิ์ ณีวงษ์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า แถลงถึงผลงานสำคัญในด้านต่าง ๆ ของกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ดังนี้

ด้านการควบคุมพื้นที่และบังคับใช้กฎหมาย

ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ ผู้ก่อเหตุรุนแรง ใช้อาวุธปืนยิงรถยนต์ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ บริเวณสะพานพื้นที่บ้านตันหยงมุสลิม (บ้านย่อยบ้านยือลาแป) หมู่ที่ 3 ต.สุวารี อ.รือเสาะ  จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 16 พ.ย.64 ที่ผ่านมา หลังเกิดเหตุ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 46 ได้จัดชุดปฏิบัติการพิทักษ์พื้นที่ สกัดกั้นตามเส้นทางต่างๆ สามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ 1 ราย คือ นายอามีร ดอแต อายุ 29 ปี ตรวจสอบกระสอบ  ใยสังเคราะห์สีฟ้าที่นายอามีรฯ นำมาด้วย พบอาวุธปืนสงคราม จำนวน 4 กระบอก ได้แก่ ปลย. AK 47 จำนวน 1 กระบอก ตรวจสอบประวัติทราบว่า ปล้นมาจากพื้นที่     ต.จะกว๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา เมื่อวันที่ 27 ก.ย.2548 ใช้ก่อเหตุมาแล้ว 23 คดี,    ปลย. AK 102 จำนวน 1 กระบอก อยู่ระหว่างการตรวจสอบแหล่งที่มา แต่จากหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์พบว่าใช้ก่อเหตุรุนแรงมาแล้ว 3 คดี, ปลย. M 16 A 4 จำนวน       1 กระบอก ปล้นมาจากเหตุระเบิดรถยนต์เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.จะแนะ เมื่อวันที่  28 ก.ย. 64 โดยในเหตุการณ์นี้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บ 4 นาย   ผู้ก่อเหตุรุนแรงนำอาวุธปืนไปได้ 2 กระบอก และ ปลย. M 16 A1 ตัดสั้น จำนวน  1 กระบอก ปล้นมาจาก หน่วยทักษิณพัฒนาที่ 12 อ.สุคิริน จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 46 นอกจากนี้ยังพบซองกระสุนของปืนชนิดต่างๆ รวมกัน 11 ซอง กระสุนปืน 300 นัด จากนั้นได้นำตัว นายอามีร ฯ ไปขยายผลเพิ่มเติมที่ศูนย์ซักถามหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 46 ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ทำให้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่ายังมีอาวุธปืนที่เหลือซุกซ่อนอยู่ โดยเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 64 เวลา 2300 เจ้าหน้าที่ได้นำตัว  นายอามีร ฯ ไปยังจุดที่ถูกระบุว่าซุกซ่อนอาวุธปืนไว้ บริเวณบ้านมือและห์ ม.1 ต.สาวอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เมื่อไปถึงจึงขุดพื้นดินตรงที่นายอามีรฯ ชี้ พบอาวุธปืนเล็กกลยี่ห้อเนเกฟ จำนวน 1 กระบอกฝัง อยู่ในท่อ PVC จากการตรวจสอบพบว่าเป็นปืน  ที่ปล้นมาจาก ฐานพระองค์ดำ เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 54 พร้อมกับตรวจยึดอาวุธปืนพกสั้น ขนาด .357 และเครื่องกระสุนจำนวนหนึ่ง ซึ่งปืนพกสั้นเป็นปืนที่ได้มาจากการก่อเหตุยิง นาย สะมะแอ ดอเลาะ ผญบ.นาดา เสียชีวิต ในพื้นที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 50 โดยอาวุธปืนทั้ง 2 กระบอก ถูกซุกซ่อนอยู่ในสวนยางพาราบริเวณเดียวกัน ต่อมาวันที่ 22 พ.ย. 64 เวลา 1530 เจ้าหน้าที่ได้นำตัว นายอามีร ฯ ไปชี้จุดซ่อนอาวุธ และอุปกรณ์ประกอบระเบิดแสวงเครื่องเพิ่มเติม ในพื้นที่บ้านกาโดะ ม.4 ต.รือเสาะ  อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส พบอาวุธปืนลูกซอง จำนวน 1 กระบอกและปุ๋ยยูเรีย จำนวน 1 ถัง น้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม สำหรับขั้นตอนในการควบคุมตัวเพื่อขยายผลซักถาม     นายอามีร ฯ พล.ท.เกรียงไกร ศรีรักษ์ มทภ.4 / ผอ.รมน.ภาค 4 ได้กำชับให้หน่วยดำเนินการในทุกขั้นตอนให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เน้นย้ำการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ในศูนย์ซักถามต้องมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ครบถ้วน      พร้อมเพรียง มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ตลอด 24 ชั่วโมง และต้องไม่มีการซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัว ทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างเด็ดขาด    ทั้งนี้จากการสอบถามขยายผลจนทราบแหล่งซุกซ่อนอาวุธดังกล่าว เกิดจากการสร้างความเข้าใจระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้รับการซักถาม จนนำไปสู่ความร่วมมือและนำไปค้นหาอาวุธที่เหลือจนพบในที่สุด

ตามที่ได้เกิดเหตุคนร้าย ยิงต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ ร้อย.ทพ.4906 ในพื้นที่ บ้านไอร์แยง หมู่ที่ 3 ต.ศรีสาคร อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส  โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่        3 ธ.ค. 64 เวลาประมาณ 1750 ในเบื้องต้นคาดว่าจะมีคนร้ายได้รับบาดเจ็บ            และบางส่วนหลบหนีไปได้ ประกอบกับห้วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาใกล้ค่ำ จึงได้ทำการปิดล้อมพื้นที่เอาไว้ ต่อมาเช้าวันที่ 4 ธ.ค. 64 จึงได้เข้าพิสูจน์ทราบ พบว่ามีคนร้ายเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ จำนวน 1 ราย จึงได้ประสานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทำการชันสูตรพลิกศพ จากการตรวจสอบที่เกิดเหตุพบเป้สนามของคนร้ายตกอยู่ 1 ใบ ส่วนคนร้าย       ที่เสียชีวิตทราบชื่อคือ นายอิสมะแอ มะหนุ๊ อายุ 38 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ ต.โต๊ะเด็ง อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส เป็นสมาชิกกลุ่ม ผกร. ระดับปฏิบัติการ มีหมายจับ ป.วิอาญา จำนวน 5 หมาย ประกอบด้วย

หมายจับที่ 1  เมื่อ 14 พฤษภาคม 56 เหตุซุ่มยิงรถ เจ้าหน้าที่ทหารชุดแพทย์ อำเภอศรีสาคร

หมายจับที่ 2 เมื่อ 10 เมษายน 58 เหตุคุมตัวผู้ต้องสงสัย พร้อมอาวุธปืน อำเภอศรีสาคร

หมายจับที่ 3 เมื่อ 3 กรกฎาคม 58 เหตุซุ่มยิง เจ้าหน้าที่ทหารพรานที่ 4102 บาดเจ็บ 2 นาย ในพื้นที่ตำบลศรีบรรพต อำเภอศรีสาคร

หมายจับที่ 4 เมื่อ 13 มีนาคม 59 เหตุโจมตีฐานปฏิบัติการ โรงพยาบาลเจาะไอร้อง อำเภอเจาะไอร้อง

หมายจับที่ 5 เมื่อ 13 มีนาคม 52 เหตุ เจ้าหน้าที่ทหารพรานที่ 41 ปะทะ        ผู้ก่อเหตุรุนแรงเสียชีวิต จำนวน 4 ราย ในพื้นที่อำเภอศรีสาคร

ทั้งนี้จากการที่มีผู้ใช้เพจเฟสบุ๊คและสื่อสังคมออนไลน์บางส่วน กล่าวถึงการทำงานของเจ้าหน้าที่ ในการส่งมอบศพผู้เสียชีวิตให้กับญาตินำไปประกอบพิธีทางศาสนา ค่อนข้างล่าช้า กอ.รมน.ภาค 4 สน. ขอเรียนให้ทราบว่า ในการดำเนินการเก็บวัตถุพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ พร้อมทั้งการชันสูตรพลิกศพ และตรวจพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการตามกรรมวิธีขั้นตอนอย่างละเอียดทุกขั้นตอน และต้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้เก็บรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องให้เจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อป้องกันการลอบวางระเบิดซ้ำจากกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง โดยต่อมาเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 64 เจ้าหน้าที่สามารถส่งมอบศพผู้เสียชีวิตให้แก่ญาติได้เป็นที่เรียบร้อย เมื่อเวลาประมาณ 1330

ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 พลโท เกรียงไกร  ศรีรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ร่วมแถลงผลปฏิบัติการ “พิทักษ์นิบง”      ณ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนหน้า ภายหลังเจ้าหน้าที่ประสานกำลัง 3 ฝ่าย ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง ตลอดจนสำนักงานป้องกันและปราบปราม   ยาเสพติด DSI และ สรรพากร เข้าติดตามจับกุมบุคคลตามหมายจับ ขยายผล จับกุม  ยึดทรัพย์ เครือข่ายยาเสพติด รายใหญ่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้จำนวน 14 คน ตรวจยึดทรัพย์สินมูลรวมค่า 125 ล้านบาท

ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 กล่าวว่า การแก้ไขปัญหายาเสพติดถือว่าเป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วน      ซึ่งจะเร่งรัดปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศ ตามแผนปฏิบัติการด้านการแก้ไขปัญหา       ยาเสพติด ให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ได้มีการเน้นย้ำเรื่องการปราบปรามทั้งรายใหญ่และรายย่อย รวมทั้งกระบวนการบำบัดรักษาและการป้องกัน ได้มีการจัดกำลังออกไปติดตาม        เฝ้าตรวจสถานการณ์ของกระบวนการค้ายาเสพติดอย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่กระบวนการจับกุมตามกฎหมาย รวมถึงในเรื่องของการบำบัดรักษายังคงใช้ Camp 35              และกระบวนการ CBTX หรือชุมชนบำบัด ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง             ซึ่งที่เป็นที่ต้องการของประชาชน โดยมีผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น เข้ามามีส่วนช่วยนำบุตรหลาน เข้ารับการบำบัดยาเสพติดให้กลับเป็นคนดีสู่สังคม        ซึ่งเป็นไปตามนโยบายเร่งด่วนที่สำคัญยิ่ง ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคง     ภายในภาค 4 ส่วนหน้า

การสร้างความเข้าใจให้กับพี่น้องประชาชน

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 พลเรือตรี วรพล สิทธิจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เป็นผู้แทน พลโท เกรียงไกร ศรีรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 มอบเงินชดเชยจำนวน 120,000 บาท ให้แก่ นายแวกอเดร์ แวโน๊ะ    กรณีมีเจ้าหน้าที่ทหาร ตั้งฐานปฏิบัติการประจำอยู่ในวัดหลักเมืองปัตตานี และได้สร้างสะพานข้ามคลองจากฐานปฏิบัติการ ข้ามมายังที่ดินของ นายแวกอเดร์ ฯ ที่เลี้ยงแกะไว้ เป็นสาเหตุให้สุนัขจรจัด เดินข้ามสะพานมากัดแกะในที่ดิน ที่ไม่ได้ล้อมรั้วตายจำนวน 31 ตัว เหตุเกิดเมื่อปี 2558 โดยมี ผู้แทนจากศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปัตตานี, ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้, ฝ่ายทหาร และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นสักขีพยาน ทั้งนี้ นายแวกอเดร์ แวโน๊ะ กล่าวว่า รู้สึกพึงพอใจและขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้มอบเงินชดเชยจากกรณีสุนัขจรจัดเข้ามากัดแกะของตนเองตายไป 31 ตัว ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาตนจะสูญเสียรายได้จากกรณีดังกล่าวไป แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือจากทางราชการ           มาโดยตลอด ทั้งเรื่องทุนการศึกษาของบุตรสาว รวมถึงการดูแลมารดาที่เป็นผู้ป่วย      ติดเตียง ขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่อำนวยความสะดวกและให้การช่วยเหลือดูแลเรื่องเงินชดเชยในครั้งนี้

การสนับสนุน ศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบค.ส่วนหน้า)

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 พลตรี อุทิศ อนันตนานนท์ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า มอบข้าวสาร จำนวน 1,000 ถุง 3,000 กิโลกรัม     ผ่าน นายภิรมย์ นิลทยา ผู้อำนวยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงจังหวัดยะลา   (กอ.รมน.จังหวัดยะลา) เพื่อนำไปแจกจ่ายให้ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ในโครงการ “เรารักยะลา” เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดยะลาที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เข็มแรก ให้ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง

โดยปัจจุบันในพื้นที่อำเภอเมืองยะลา มีผู้มารับการฉีดวัคซีนไปแล้วร้อยละ 85 อำเภอ   เบตงร้อยละ 71 อำเภอธารโตร้อยละ 50 และพื้นที่อื่นๆ ร้อยละ 40

การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยธรรมชาติ

ในช่วงนี้มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ทั่ว    ทุกพื้นที่มีฝนตกชุกอย่างต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน  และน้ำป่าไหลหลากได้ หากประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือนร้อนจากอุทกภัย        หรือภัยพิบัติต่างๆ สามารถแจ้งขอความช่วยเหลือได้โดยตรงกับศูนย์ประสานงาน     ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 4 หมายเลขโทรศัพท์ 075-383405 หรือ     ขอรับความช่วยเหลือได้ที่หน่วยเฉพาะกิจทุกแห่งในพื้นที่ จชต.

          พันตำรวจโท ภนภัค ภานุเดชากฤษ หัวหน้างานกิจการพลเรือน กองกำลังตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้/ผู้ช่วยโฆษกกองกำลังตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่าในส่วนของกองกำลังตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้สรุปผลการติดตามคดีสำคัญประจำเดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ดังนี้

เกิดเหตุก่อความไม่สงบ 8 เหตุ เหตุอาชญากรรม 14 เหตุ         และเหตุก่อกวน 3 เหตุ

ความคืบหน้าคดีสำคัญ ๒ คดี ได้แก่

๑. คดีคนร้ายยิงราษฎรหาของป่าบ้านไอร์ซือเร๊ะ หมู่ ๓ ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส เมือวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๔

คดีนี้ผลการตรวจสารพันธุกรรมจากวัตถุพยานที่ตรวจเก็บจากที่เกิดเหตุพบดีเอ็น      จำนวน ๓ ไฟรไฟล์เชื่อมโยง 12 เหตุการณ์ สามารถระบุตัวบุคคล ๑ คน พบว่าเป็นผู้ต้องหา     ในคดีความมั่นคงอยู่ระหว่างหลบหนี มีหมายจับคดีความมั่นคง ๔ หมาย

สำหรับในส่วนของคดีนี้ได้มีการออกหมายพร้อมประกาศสืบจับไว้แล้ว

๒. เหตุซุ่มยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวน กองบังคับการสืบสวนสอบสวนจังหวัดชายแดนภาคใต้บริเวณทางขึ้นเขายือราแป หมู่ที่ 3 ตำบลสุวารี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ทหารตั้งจุดตรวจจุดสกัดพบคนร้าย ๒ คนขับขี่รถจักรยานยนต์     คนที่นั่งซ้อนท้ายกระโดดหลบหนีพร้อมกับใช้ปืนยิงใส่เจ้าหน้าที่หลบหนีไปได้แต่สามารถควบคุมตัวนายอามีร ดอแตคนขับพร้อมกับอาวุธปืนสงคราม ๔ กระบอก และกระสุนปืนขนาด ๗.๖๒  และขนาด ๕.๕๖ จำนวน ๓๐๐ กว่านัด ต่อมาเจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจสอบบริเวณจุดที่คนร้ายซุ่มยิงพบระเบิดแสวงเครื่อง  ฝังอยู่ในดิน ๑ ลูก เจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดได้ทำการนิรภัย จากการตรวจสอบที่มาของอาวุธปืนและผลการตรวจพิสูจน์พบว่า

๑.ปืน M16 A1 หมายเลขปืน 9293289 เป็นอาวุธปืนที่ถูกปล้นมาจากหน่วย                   พัฒนาที่ 12 อำเภอบาเจาะ  จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 28 เมษายน ๒๕๔๖

๒.ปืน M4 หมายเลขปืน A0252645 เป็นอาวุธปืนขที่ถูกปล้นไปจากเหตุลอบวางระเบิด บ้านน้ำวน ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อ 28 กันยายน ๒๕๖๔ พบประวัติการก่อเหตุรวม ๒ คดี

๓.ปืน AK 47 หมายเลขปืน 2604928 เป็นอาวุธปืนที่ปล้นไปจากเหตุยิงเจ้าหน้าที่ทหารชุดรักษาความปลอดภัยครู (เสียชีวิต ๔ นาย) พื้นที่ ตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา     เมื่อ 27 กันยายน ๒๕๔๘ พบประวัติการก่อเหตุ ๒๔ คดี

๔ ปืน AK 102 หมายเลข ๑๐๑11๖๑๒๕๖ อยู่ระหว่างตรวจสอบหาแหล่งที่มาพบประวัติการก่อเหตุ ๔ คดี

โดยในระหว่างถูกควบคุมตัวนายอามีนฯ ได้นำเจ้าหน้าที่ไปตรวจยึดอาวุธปืนเพิ่มเติมอีก ๓ กระบอก ได้แก่

  1. ปืนพกสั้นขนาด .๓๕๗ พร้อมเครื่องกระสุนปืนขนาด .๓๕๗ จำนวน ๒๒ นัด และกระสุนปืนขนาด ๕.๕๖ เป็นอาวุธปืนที่ถูกชิงไปจากเหตุฆ่านายสะมะแอ ดอเลาะเมื่อ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐

๒. ปืนกลเบา ขนาด ๕.๕๖ IwI  Negev พบว่าเป็นอาวุธปืนที่ถูกปล้นมาจากการโจมตีฐานปฏิบัติการองค์ดำ บ้านมะรือโบ หมู่ ๑ ตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อ 19 มกราคม ๒๕๖๔ และ

๓.ปืนลูกซอง ขนาดเบอร์ 12 หมายเลขทะเบียนถูกขูดลบอยู่ระหว่างรอผลการตรวจพิสูจน์ สำหรับเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีคำพิพากษาคดีความมั่นคงที่น่าสนใจดังนี้

๑.  คดีสนับสนุนให้ความช่วยเหลือผู้ต้องหา ตามหมายจับคดีในความมั่นคงที่อยู่ระหว่างหลบหนี เหตุเกิด เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๓ โดยศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกคนละ ๑ ปี จำนวน ๓ ราย

๒. คดีขนย้ายกลุ่ม ผกร.จากอำเภอศรีสาครไปอำเภอกะพ้อ เหตุเกิด เมื่อ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ โดยชั้นต้นพิพากษาจำคุก ๒ ปี จำนวน ๒ คน และอีก ๓ คน ซึ่งให้การปฏิเสธ  อยู่ในระหว่างพิจารณาในชั้นศาล

ด้านนายอำนวย ศรีระแก้วสำหรับผลการปฏิบัติงานที่สำคัญในรอบเดือนพฤศจิกายน 2564 ของ ศอ.บต. ภายใต้การบริหารงานของ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. ดังนี้

โดยเรื่องแรก ศอ.บต. ขอแสดงความยินดีแก่ผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีอุมเราะห์ทั้ง 112 คน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมสนับสนุนการประกอบพิธีอุมเราะห์ ประจำปีงบประมาณ 2564 ฮิจเราะห์ศักราช 1443 ของ ศอ.บต. โดยได้เดินทางออกจากท่าอากาศยานนราธิวาสในวันที่ 28 และ 29 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา ในปีนี้ถือเป็นการดำเนินการครั้งแรกในรอบ 2 ปี นับตั้งแต่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ซึ่งประเทศซาอุดีอาระเบียได้ผ่อนปรนมาตรการในการเข้า – ออก ของชาวมุสลิมทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการที่ประเทศซาอุดีอาระเบียได้วางไว้อย่างเข้มงวด ทั้งนี้ ศอ.บต. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้แสวงบุญที่เข้าร่วมโครงการฯ ในครั้งนี้ จะทำประโยชน์ให้กับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นคนดีของครอบครัว เป็นคนดีของสังคม และช่วยกันสร้างสรรค์ความสุข  ความเจริญให้กับประเทศชาติ เป็นการประกอบพิธีอุมเราะห์ที่ “เปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนสังคม”

เรื่องที่สอง ศอ.บต. ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ทำหน้าที่อย่างหนักในการร่วมมือในการสร้างความปลอดภัยแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ห่างไกลจากโควิด-19 ทำให้ขณะนี้ในพื้นที่ มียอดผู้ติดเชื้อลดลง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ศอ.บต. ร่วมกับบัณฑิตอาสาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่เคาะประตูบ้านเชิญชวนให้ประชาชนไปฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้มากที่สุด ด้าน พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. เอง ก็ได้ลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมโรงเรียนทั้ง 3 จังหวัด ประกอบด้วย ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สร้างขวัญกำลังใจแก่คณะผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา เพื่อรับฟังปัญหาข้อเสนอแนะและความพร้อม ในการเปิดการเรียนการสอนในรูปแบบ On Site พร้อมขอความความร่วมมือคณะครูและนักเรียนเป็นผู้แทนสร้างความเข้าใจเรื่องความสำคัญของการ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ครบตามเป้าหมายที่ ศบค.วางไว้ คือ บุคลากรทางการศึกษาฉีดวัคซีน 100 เปอร์เซ็นต์ นักเรียน 80 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ได้เปิดการเรียนการสอนตามปกติโดยเร็ว

เรื่องที่ 3 เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝนและมีฝนตกหนักพร้อมกันหลายพื้นที่  จึงได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์อุทกภัยและการช่วยเหลือ เตรียมความพร้อมการบริหารจัดการเหตุในภาวะวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ศอ.บต. พร้อมอำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยหนุนเสริม ทุกส่วนราชการให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

ที่สำคัญได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรายงานและแจ้งเตือนประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด

เรื่องที่ 4  ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการกีฬาแห่งประเทศไทย เตรียมจัดกิจกรรมวิ่งตามภูมิประเทศ “AMAZEAN JUNGLE TRAIL” ในพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลาภายใต้องค์กร Ultra-Trail Du Mont Blanc (อัลตร้าเทรล ดูมองบลาง) (UTMB) ประเทศฝรั่งเศส  เป็นผู้ดำเนินการ โดยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา ศอ.บต. ได้ร่วมกันปล่อยขบวนนักกีฬา  เพื่อทดสอบเส้นทางวิ่งเทรลตามเส้นทางเทือกเขาสันกาลาคีรี อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นสนามวิ่งเทรลระดับโลก เพราะจะมีการวิ่งผ่านอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และข้ามแดนไปยังประเทศมาเลเซีย

ทั้งนี้ ศอ.บต. และจังหวัดยะลาได้เล็งเห็นประโยชน์ที่จะสามารถพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในด้านการท่องเที่ยว ภายหลังสถานการณ์โรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) คลี่คลาย และเพื่อเป็นการเปิดเมืองเบตงและจูงใจให้นักท่องเที่ยวมาเยือนเมืองเบตงในอนาคตมากยิ่งขึ้น โดยการนำศักยภาพพื้นที่ของอำเภอ เบตง ที่มีสภาพป่าทัศนียภาพที่สวยงาม และอุดมสมบูรณ์ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Amazon แห่งอาเซียน พหุวัฒนธรรม อาหารพื้นเมืองที่มีชื่อเสียง มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย มาต่อยอดผ่านการแข่งขันวิ่งในภูมิประเทศ (Trail Running) ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2565 สนามกีฬาเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีระยะทางแข่งขัน 3 ระยะ ดังนี้ ระยะ เบตง 100, ระยะ เบตง 50, ระยะ เปรัก 25 โดยมุ่งหวังการแข่งขัน “AMAZEAN JUNGLE TRAIL” ยกระดับการแข่งขันให้เป็น 1 ในรายการ World Series ”

 

 

ขอรับรองว่าเป็นข่าวสารของทางราชการ

 

 

(ร้อยเอก สรศักดิ์ ใจแก้ว)

ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า

 

ข่าว :  อาดีล๊ะ

ภาพ :  ส.อ. ศุกรงค์