สิทธิของบุคคลทุกคนที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการแสดงความคิดเห็น เป็นสิทธิในระดับสากลที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายระหว่างประเทศ เสรีภาพในการแสดงออกเป็นพื้นฐานของความเจริญของสังคมและความงอกงามของปัจเจกบุคคล คุณภาพการศึกษา การสร้างและพัฒนาเทคโนโลยี ความก้าวหน้าของภาคธุรกิจ และการเข้าถึงความยุติธรรม ล้วนมีพื้นฐานจากการที่บุคคลทุกคนในสังคมมีเสรีภาพที่จะพูด เขียน แลกเปลี่ยน หรือถกเถียงความคิดความเห็นต่างๆ ในพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ความคิดเหล่านั้นพัฒนาต่อยอดนำไปสู่ความรุ่งเรืองของสังคม
- การใช้เสรีภาพแสดงความเห็น
“บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น”
ทั้งนี้ การใช้เสรีภาพการแสดงความคิดเห็นมีข้อยกเว้น ซึ่งรัฐธรรมนูญทั้งสามฉบับได้กำหนดไว้ โดยในรัฐธรรมนูญ 2560 ระบุว่า “การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน”
- เสรีภาพทางวิชาการ
รัฐธรรมนูญ 2560 บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ” เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 แต่มีข้อสังเกตคือ เสรีภาพทางวิชาการในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันปรากฏอยู่ในวรรคสองของมาตรา 34 ซึ่งเป็นมาตราเดียวกันกับเสรีภาพการแสดงความเห็น ขณะที่เสรีภาพทางวิชาการในรัฐธรรมนูญสองฉบับก่อนหน้าแยกออกจากเสรีภาพการแสดงความเห็นเป็นมาตราของตัวเอง
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ 2560 ยังได้ตัดข้อความที่รับรองเสรีภาพทางวิชาการในการเรียน การสอน และการวิจัยออกไป ซึ่งเคยปรากฏในรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ว่า “การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครอง”
- เสรีภาพของสื่อไว้กว้างๆ ว่า “บุคคลที่ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน”
รัฐธรรมนูญ 2540 ถึงปัจจุบันล้วนรับรองหลักการ ‘เสรีภาพสื่อ’ เอาไว้ แต่ต่างกันในรายละเอียด โดยรัฐธรรมนูญ 2560 บัญญัติในมาตรา 35 ระบุว่า “บุคคลที่ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ”
- เสรีภาพการแสดงออก
สิทธิของบุคคลทุกคนที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการแสดงความคิดเห็น เป็นสิทธิในระดับสากลที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายระหว่างประเทศ เสรีภาพในการแสดงออกเป็นพื้นฐานของความเจริญของสังคมและความงอกงามของปัจเจกบุคคล คุณภาพการศึกษา การสร้างและพัฒนาเทคโนโลยี ความก้าวหน้าของภาคธุรกิจ และการเข้าถึงความยุติธรรม ล้วนมีพื้นฐานจากการที่บุคคลทุกคนในสังคมมีเสรีภาพที่จะพูด เขียน แลกเปลี่ยน หรือถกเถียงความคิดความเห็นต่างๆ ในพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ความคิดเหล่านั้นพัฒนาต่อยอดนำไปสู่ความรุ่งเรืองของสังคม
ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค4ส่วนหน้า